ในปัจจุบันก็ยังคงมีการกล่าวถึงข้อสงสัยว่า เขาสมอแครง จะสะกดด้วย ร หรือ ล เป็น เขาสมอแคลง ทัวร์ออนไทยดอทคอมจึงขอนำเอาผลงานการศึกษาของอาจารย์จุฑารัตน์ เกตุปานที่ได้เขียนไว้ในบันทึกประวัติการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ศรีบวรชินรัตน์ ซึ่งมีนาวาเอกจุลินทร์ เหลือนาค บิดาของอาจารย์จุฑารัตน์ เกตุปาน เป็นผู้นำศรัทธาประชาชนสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระราชวงศ์ของพระองค์ ระหว่างปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2548 เพื่อนำมาเผยแพร่เป็นความรู้สำหรับผู้ที่สนใจโดยได้รวบรวมข้อมูลสถานที่สำคัญๆ บนเขาสมอแคลงมาพร้อมกันด้วยได้แก่
พระเจดีย์ด้วน - สำนักสงฆ์สระสองพี่น้อง
พระบรมธาตุเจดีย์ศรีบวรชินรัตน์ - สำนักสงฆ์สระสองพี่น้อง
วัดราชคีรีหิรัญยาราม
โรงเจไซทีฮุกตึ๊ง
ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.พิษณุโลก โทร.0 5525 2742-3, 0 5525 9907, 0 5523 1063
http://www.tourismthailand.org/phitsanulok
http://www.tourismthailand.org/phitsanulok
แก้ไขล่าสุด 0000-00-00 00:00:00 ผู้ชม 25105
วิหารวัดราชคีรีหิรัญยาราม เป็นสถานที่แรกที่เราจะพาเที่ยวเมื่อขึ้นมาบนเขาสมอแคลง พร้อมกันนี้ผมจะขอแทรกบรรยายข้อมูลเรื่องราวของเขาสมอแคลงที่คัดลอกมาจากบันทึกประวัติการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ศรีบวรชินรัตน์ โดยอาจารย์จุฑารัตน์ เกตุปาน บุตรสาวของนาวาเอกจุลินทร์ เหลือนาค ผู้นำศรัทธาสร้างพระบรมธาตุเจดีย์บนเขาสมอแคลง ไปพร้อมกับภาพของสถานที่ต่างๆ ที่ยังคงเหลืออยู่บนเขาสมอแคลงครับ วิหารวัดราชคีรีหิรัญยาราม ยังไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ปัจจุบันทางวัดราชคีรีหิรัญยารามกำลังทำการบูรณปฏิสังขรณ์ส่วนหลังคา เพราะได้ชำรุดตามกาลเวลา
สำหรับข้อมูลสำคัญของเขาสมอแคลงขอแยกบรรยายแทรกเป็นตอนๆ ครับ
เริ่ม ณ บัดนี้
เขาสมอแคลง (อาจารย์จุฑารัตน์ เกตุปาน)
ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปทางทิศตะวันออก บนถนนสายพิษณุโลก-วังทอง ประมาณ 17-18 กิโลเมตร ก็จะพบภูเขาลูกหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และคติชนวิทยาของชาติไทย ภูเขาแห่งนี้คือ "เขาสมอแคลง" มีข้อถกเถียงอย่างไม่ลงรอยกัน ในเรื่องชื่อของภูเขา ตำนานเรื่องเล่าต่างๆ ที่เป็นเพียงมุขปาฐะ โบราณสถานที่ยังไม่มีผู้ใดได้ศึกษาประวัติความเป็นมาอย่างแท้จริง ผู้เขียน (อาจารย์จุฑารัตน์ เกตุปาน) จึงได้พยายามรวบรวมข้อมูลเก่าที่ค้นได้จากหนังสือโบราณ เรื่องเล่าและตำนานต่างๆ เกี่ยวกับเขาสมอแคลงที่ได้จากการสัมภาษณ์ให้มาเป็นลายลักษณ์ ทั้งนี้ด้วยความหวังที่จะเอื้อประโยชน์ต่ออนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องราวของเขาสมอแคลงและกระตุ้นนักวิชาการได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป
ในพระราชพงศาวดารเหนือเรื่องสร้างเมืองพิษณุโลก ได้กล่าวถึงเขาสมอแคลงว่าเป็นที่ที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับฉันจังหันตามนิมิตของ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมีรับสั่งให้ "จ่านกร้อง" และ "จ่าการบุรณ์" ไปสร้างเมืองตามนิมิตของพระองค์ จ่านกร้องและจ่าการบุรณ์ จึงเดินทางจากเมืองเชียงแสนมาถึงเมืองน่าน เมืองสิหล่ม แล้วจึงพักพลไหว้พระบาทธาตุพระพุทธเจ้า ข้ามแม่น้ำตรอมตนิม บ้ามแม่น้ำแก้วน้อย มาถึงบ้านพราหมณ์ที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปบิณฑบาต มีผู้คนอยู่ทางฝั่งตะวันออก 150 หลังคาเรือน และทางฝั่งตะวันตกมี 100 หลังคาเรือนเศษๆ จ่านกร้องและจ่าการบุรณ์เห็นว่าเป็นพื้นที่ราบทั้งสองฝั่ง และพบภูเขาอันเป็นที่ที่พระพุทธเจ้าฉันจังหันใต้ต้ตสมอ ท่านทั้งสองจึงแบ่งกำลังพลออกเป็น 2 กลุ่ม จ่านกร้องให้พ่อค้าเกวียน 500 เล่มข้ามไปฝั่งทางตะวันตก เกณฑ์คนทำอิฐ 1,000 คน ส่วนจ่าการบุรณ์ก็เกณฑ์คน 1,000 คนทำอิฐเช่นกัน ครั้นแบ่งหน้าที่กันแล้วในวันพฤหัสบดี เดือน 3 ขึ้น 1 ค่ำ ปีฉลู ศก เวลาเช้าซึ่งตรงกับเวลาเมื่อพระพุทธเจ้าฉันจังหันใต้ต้นสมอนั้น จ่านกร้องและจ่าการบุรณ์ได้เริ่มลงมือสร้างเมืองโดยใช้เวลาสร้าง 1 ปี กับ 7 เดือน ก็แล้วเสร็จ แล้วจึงกราบทูลเชิญเสด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเสด็จมายังเมืองแห่งนี้ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมีพระราชดำรัสว่า จะตั้งชื่อเมืองนี้ว่าอย่างไร พราหมณ์จึงกราบทูลว่า พระองค์เสด็จเข้าเมืองใน "ยามพิศณุ" จึงให้ชื่อเมืองนี้ว่า "เมืองพิศณุโลก" หรือถ้าจะว่าตามตำนานพระพุทธเจ้าเข้ามาบิณฑบาต ก็ให้ชื่อว่า "เมืองโอฆบุรีตะวันตก โอฆะบุรีตะวันออก" ต่อมาภายหลังจึงขนานนามเมืองนี้ว่า "พิศณุโลกโอฆบุรี" ในพระราชพงศาวดารเหนือยังได้กล่าวถึงเขาสมอแคลงอีกว่า "แต่ก่อนก็เรียกว่าพนมสมอ บัดนี้เรียกว่า เขาสมอแครง เขาบรรจุพระธาตุเจ้าทั้งสองไว้ที่นั้นแล ครั้นพระสงฆ์องค์ใดเข้ามาอยู่ที่นั้น ก็ย่อมเรียกตามที่นั้นมาเป็นอรัญวาสี" (พระราชพงศาวดารเหนือ, 2445, หน้า 94-95) จากเรื่องราวนี้แสดงให้เห็นว่าเขาสมอแคลง เป็นชัยภูมิอันเป็นมงคลเนื่องด้วยเป็นที่ประทับฉันจังหันของพระพุทธเจ้า จึงมีการสร้างและบรรจุพระธาตุไว้บนเขาสมอแคลงแห่งนี้ นอกจากนี้ยังเป็นเขตของพระสงฆ์ ที่เรียกว่า อรัญวาสี ซึ่งสอดคล้องกับการค้นพบร่องรอยของศาสนสถานที่เรียงรายกันอย่างต่อเนื่องทางด้านตะวันตกของเขาสมอแคลง ประกอบกับการค้นพบตราอิฐเป็นรูปต่างๆ ดังจะได้กล่าวต่อไป
สำหรับข้อมูลสำคัญของเขาสมอแคลงขอแยกบรรยายแทรกเป็นตอนๆ ครับ
เริ่ม ณ บัดนี้
เขาสมอแคลง (อาจารย์จุฑารัตน์ เกตุปาน)
ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปทางทิศตะวันออก บนถนนสายพิษณุโลก-วังทอง ประมาณ 17-18 กิโลเมตร ก็จะพบภูเขาลูกหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และคติชนวิทยาของชาติไทย ภูเขาแห่งนี้คือ "เขาสมอแคลง" มีข้อถกเถียงอย่างไม่ลงรอยกัน ในเรื่องชื่อของภูเขา ตำนานเรื่องเล่าต่างๆ ที่เป็นเพียงมุขปาฐะ โบราณสถานที่ยังไม่มีผู้ใดได้ศึกษาประวัติความเป็นมาอย่างแท้จริง ผู้เขียน (อาจารย์จุฑารัตน์ เกตุปาน) จึงได้พยายามรวบรวมข้อมูลเก่าที่ค้นได้จากหนังสือโบราณ เรื่องเล่าและตำนานต่างๆ เกี่ยวกับเขาสมอแคลงที่ได้จากการสัมภาษณ์ให้มาเป็นลายลักษณ์ ทั้งนี้ด้วยความหวังที่จะเอื้อประโยชน์ต่ออนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องราวของเขาสมอแคลงและกระตุ้นนักวิชาการได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป
ในพระราชพงศาวดารเหนือเรื่องสร้างเมืองพิษณุโลก ได้กล่าวถึงเขาสมอแคลงว่าเป็นที่ที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาประทับฉันจังหันตามนิมิตของ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมีรับสั่งให้ "จ่านกร้อง" และ "จ่าการบุรณ์" ไปสร้างเมืองตามนิมิตของพระองค์ จ่านกร้องและจ่าการบุรณ์ จึงเดินทางจากเมืองเชียงแสนมาถึงเมืองน่าน เมืองสิหล่ม แล้วจึงพักพลไหว้พระบาทธาตุพระพุทธเจ้า ข้ามแม่น้ำตรอมตนิม บ้ามแม่น้ำแก้วน้อย มาถึงบ้านพราหมณ์ที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปบิณฑบาต มีผู้คนอยู่ทางฝั่งตะวันออก 150 หลังคาเรือน และทางฝั่งตะวันตกมี 100 หลังคาเรือนเศษๆ จ่านกร้องและจ่าการบุรณ์เห็นว่าเป็นพื้นที่ราบทั้งสองฝั่ง และพบภูเขาอันเป็นที่ที่พระพุทธเจ้าฉันจังหันใต้ต้ตสมอ ท่านทั้งสองจึงแบ่งกำลังพลออกเป็น 2 กลุ่ม จ่านกร้องให้พ่อค้าเกวียน 500 เล่มข้ามไปฝั่งทางตะวันตก เกณฑ์คนทำอิฐ 1,000 คน ส่วนจ่าการบุรณ์ก็เกณฑ์คน 1,000 คนทำอิฐเช่นกัน ครั้นแบ่งหน้าที่กันแล้วในวันพฤหัสบดี เดือน 3 ขึ้น 1 ค่ำ ปีฉลู ศก เวลาเช้าซึ่งตรงกับเวลาเมื่อพระพุทธเจ้าฉันจังหันใต้ต้นสมอนั้น จ่านกร้องและจ่าการบุรณ์ได้เริ่มลงมือสร้างเมืองโดยใช้เวลาสร้าง 1 ปี กับ 7 เดือน ก็แล้วเสร็จ แล้วจึงกราบทูลเชิญเสด็จพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเสด็จมายังเมืองแห่งนี้ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกมีพระราชดำรัสว่า จะตั้งชื่อเมืองนี้ว่าอย่างไร พราหมณ์จึงกราบทูลว่า พระองค์เสด็จเข้าเมืองใน "ยามพิศณุ" จึงให้ชื่อเมืองนี้ว่า "เมืองพิศณุโลก" หรือถ้าจะว่าตามตำนานพระพุทธเจ้าเข้ามาบิณฑบาต ก็ให้ชื่อว่า "เมืองโอฆบุรีตะวันตก โอฆะบุรีตะวันออก" ต่อมาภายหลังจึงขนานนามเมืองนี้ว่า "พิศณุโลกโอฆบุรี" ในพระราชพงศาวดารเหนือยังได้กล่าวถึงเขาสมอแคลงอีกว่า "แต่ก่อนก็เรียกว่าพนมสมอ บัดนี้เรียกว่า เขาสมอแครง เขาบรรจุพระธาตุเจ้าทั้งสองไว้ที่นั้นแล ครั้นพระสงฆ์องค์ใดเข้ามาอยู่ที่นั้น ก็ย่อมเรียกตามที่นั้นมาเป็นอรัญวาสี" (พระราชพงศาวดารเหนือ, 2445, หน้า 94-95) จากเรื่องราวนี้แสดงให้เห็นว่าเขาสมอแคลง เป็นชัยภูมิอันเป็นมงคลเนื่องด้วยเป็นที่ประทับฉันจังหันของพระพุทธเจ้า จึงมีการสร้างและบรรจุพระธาตุไว้บนเขาสมอแคลงแห่งนี้ นอกจากนี้ยังเป็นเขตของพระสงฆ์ ที่เรียกว่า อรัญวาสี ซึ่งสอดคล้องกับการค้นพบร่องรอยของศาสนสถานที่เรียงรายกันอย่างต่อเนื่องทางด้านตะวันตกของเขาสมอแคลง ประกอบกับการค้นพบตราอิฐเป็นรูปต่างๆ ดังจะได้กล่าวต่อไป
พระแม่กวนอิมหยกขาว พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรหรือเจ้าแม่กวนอิม เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวพุทธมหานิกาย ซึ่งหมายถึงเกือบทั้งหมดของชาวจีน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชาวไทยมาหลายร้อยปี จนหลอมรวมกลมกลืนกันมาจนถึงปัจจุบันเราจะได้เห็นการสร้างเจ้าแม่กวนอิมไว้ในศาสนสถานทั้งหินยานและมหายาน สำหรับเจ้าแม่กวนอิมหยกขาวสูง 3 เมตร ประดิษฐานอยู่ในวัดราชคีรีหิรัญยารามบนเขาสมอแคลง
วิวสวยๆ บนเขาสมอแคลง เนื่องจากมีวัดอยู่บนเขาสมอแคลงอยู่หลายแห่ง แต่ละแห่งก็จะมีมุมในการชมวิวสวยๆ รอบๆ เขาสมอแคลงต่างกันไปตามทิศที่ตั้งของวัดนั้นๆ อย่างเช่นในรูปนี้ก็เป็นจุดชมวิวของวัดราชคีรีหิรัญยาราม ซึ่งจะมองเห็นวัดคลองเรือเบื้องล่างเป็นทิวทัศน์ที่สวยงาม
ข้อมูลเขาสมอแคลง (ต่อ)
จากพระราชพงศาวดารเหนือและเอกสารโบราณต่างๆ ทำให้เกิดความสงสัยว่า ชื่อเขาสมอแคลงควรจะเป็น "สมอแคลง" หรือ "เขาสมอแครง" เพราะในพงศาวดารเหนือ เขียนกล้ำด้วย ร จึงต้องอาศัยนิทานท้องถิ่นเรื่องบึงราชนก เข้ามาตัดสินว่าจะเขียนอย่างไรแน่
สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้กล่าวถึงนิทานท้องถิ่นของบ้านวังทอง เรื่องบึงราชนก มีใจความว่า "แต่เดิม บึงราชนกเคยเป็นเมืองมาก่อน ต่อมามีปลาหมอขนาดยักษ์เกิดขึ้น ชาวเมืองก็ไปจับมาแบ่งกันกิน จึงเกิดอาเพศทำให้เมืองถล่มทลายเป็นบึงราชนก อย่างไรก็ตามลูกสาวเจ้าเมืองได้ขี่ม้าไปจนถึงสถานที่แห่งหนึ่ง ก็ถอดแหวนทิ้ง (เป็นที่มาของบ้านร่องหัวแหวนในอำเภอวังทอง) จากนั้นก็ขี่ม้าเรื่อยไปจนหมดแรงตาย ขณะที่นอนตายนั้นตาไม่หลับ (เป็นที่มาของบ้านลาดตาขาว) เมื่อหนุมานคู่หมั้นของลูกสาวเจ้าเมืองทราบเรื่องรายว่าเมืองถล่ม ก็นำหินก้อนใหญ่มาถมบึงราชนก แต่บังเอิญมาพบศพคู่หมั้นเสียก่อน จึงเหวี่ยงก้อนหินนั้นทิ้งลงพื้นดินมีลักษณะตะแคงไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านจึงเรียกว่า เขาตะแคง และต่อมาได้เพี้ยนเสียงกลายเป็น เขาสมอแครง "
นิทานเรื่องนี้ มีโครงเรื่องที่คล้ายคลึงกับนิทานของกลุ่มชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชาวล้านช้าง ซึ่งอาจจะแสดงได้ว่า บริเวณพื้นที่โดยรอบเขาสมอแคลง เคยมีการคิดค่อกับกลุ่มชนทางภาคอิสานและลาวสองฝั่งโขง โดยมีลำน้ำแควน้อยและลำน้ำวังทองเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางโบราณคดีมาสนับสนุนคือ เครื่องปั้นดินเผาแบบไหหินสีเทา และสีดำ อันเป็นภาชนะที่ชาวบ้านล้านช้างในเขตจังหวัดเลย อุดรธานี และหนองคาย นิยมใช้ ซึ่งพบในบริเวณชุมชนโบราณในลุ่มน้ำแควน้อย (สุจิตต์ วงษ์เทศ, 2548, หน้า 66-67) จากนิทานเรื่องบึงราชนก ผู้เขียนได้เคยสัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นซึ่งขณะนั้นอายุ 82 ปี ได้เล่านิทานที่เหมือนกับที่กล่าวมาข้างต้น จะต่างกันในรายละเอียดเล็กน้อย ตรงที่ว่า "หนุมาน... ก็จะนำหินก้อนใหญ่มาถมบึงราชนก" วิทยากรจะเล่าว่า "หนุมานไปหักยอดเขาฟ้ามาเพื่อช่วยเมืองราชนก" และเรื่องบ้านลาดตาขาว วิทยากรเล่าว่าม้านอนตายตาขาว ไม่ใช่ลูกสาวเจ้าเมืองนอนตายตาไม่หลับ (นายปั่น รวมญาติ ผู้ให้สัมภาษณ์, 22 กันยายน 2534) การเขียนชื่อภูเขานี้ในพระราชพงศาวดารเหนือ จะเขียนว่า "สมอแครง" ในสมัยปัจจุบันจะเขียนตามชื่อวัด ที่ผ่านการกลั่นกรองจากราชบัณฑิตและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานวิสุงคามสีมา ว่า "วัดสมอแคลง" เหตุที่เป็นดังรี้ก็เพราะเดิมทีเดียวเขาลูกนี้เรียกว่า "เขาตะแคง" จากนิทานท้องถิ่นของชาวบ้านวังทอง เรื่องบึงราชนก โดยมีลักษณะตะแคงไปทางทิศเหนือ ดังนั้นถ้าจะให้สอดคล้องต่อความหมายนี้ก็ต้องเขียนว่า "แคลง" ซึ่งตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 ให้ความหมายว่า "ตะแคง" ส่วนคำว่า สมอ ผู้เขียนสันนิษฐานว่าอาจจะสอดคล้องกับพระราชพงศาวดารเหนือ เรื่องที่ว่า "พระพุทธเจ้าฉันจังหันใต้ต้นสมอ" หรืออาจจะสันนิษฐานว่า คำว่า "สมอ" มาจากคำว่า "ถมอ" ในภาษาเขมร ที่แปลว่า "ก้อนหิน , หิน" ยกตัวอย่างเช่น สมอเรือ แต่เดิมก็คือก้อนหินผูกเชือกแล้วทิ้งลงในทะเลกันเรือลอยเคลื่อนที่ไป ถึงแม้ปัจจุบันจะทำด้วยเหล็ก ก็ยังเรียกว่าสมอเรือเช่นเดิม ดังนั้น "สมอแคลง" จึงแปลว่า "หินตะแคง" หรือ "ภูตะแคง" ซึ่งสอดคล้องกับนิทานพื้นบ้าน อีกประการหนึ่งก็คือ การเขียนในสมัยโบราณจะยึดถือมาเป็นการเขียนสมัยปัจจุบันทั้งหมดไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น เมืองพิศณุโลก เป็นต้น ปัจจุบันก็ไม่ได้เขียนเช่นนี้แล้ว
ข้อมูลเขาสมอแคลง (ต่อ)
จากพระราชพงศาวดารเหนือและเอกสารโบราณต่างๆ ทำให้เกิดความสงสัยว่า ชื่อเขาสมอแคลงควรจะเป็น "สมอแคลง" หรือ "เขาสมอแครง" เพราะในพงศาวดารเหนือ เขียนกล้ำด้วย ร จึงต้องอาศัยนิทานท้องถิ่นเรื่องบึงราชนก เข้ามาตัดสินว่าจะเขียนอย่างไรแน่
สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้กล่าวถึงนิทานท้องถิ่นของบ้านวังทอง เรื่องบึงราชนก มีใจความว่า "แต่เดิม บึงราชนกเคยเป็นเมืองมาก่อน ต่อมามีปลาหมอขนาดยักษ์เกิดขึ้น ชาวเมืองก็ไปจับมาแบ่งกันกิน จึงเกิดอาเพศทำให้เมืองถล่มทลายเป็นบึงราชนก อย่างไรก็ตามลูกสาวเจ้าเมืองได้ขี่ม้าไปจนถึงสถานที่แห่งหนึ่ง ก็ถอดแหวนทิ้ง (เป็นที่มาของบ้านร่องหัวแหวนในอำเภอวังทอง) จากนั้นก็ขี่ม้าเรื่อยไปจนหมดแรงตาย ขณะที่นอนตายนั้นตาไม่หลับ (เป็นที่มาของบ้านลาดตาขาว) เมื่อหนุมานคู่หมั้นของลูกสาวเจ้าเมืองทราบเรื่องรายว่าเมืองถล่ม ก็นำหินก้อนใหญ่มาถมบึงราชนก แต่บังเอิญมาพบศพคู่หมั้นเสียก่อน จึงเหวี่ยงก้อนหินนั้นทิ้งลงพื้นดินมีลักษณะตะแคงไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านจึงเรียกว่า เขาตะแคง และต่อมาได้เพี้ยนเสียงกลายเป็น เขาสมอแครง "
นิทานเรื่องนี้ มีโครงเรื่องที่คล้ายคลึงกับนิทานของกลุ่มชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชาวล้านช้าง ซึ่งอาจจะแสดงได้ว่า บริเวณพื้นที่โดยรอบเขาสมอแคลง เคยมีการคิดค่อกับกลุ่มชนทางภาคอิสานและลาวสองฝั่งโขง โดยมีลำน้ำแควน้อยและลำน้ำวังทองเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางโบราณคดีมาสนับสนุนคือ เครื่องปั้นดินเผาแบบไหหินสีเทา และสีดำ อันเป็นภาชนะที่ชาวบ้านล้านช้างในเขตจังหวัดเลย อุดรธานี และหนองคาย นิยมใช้ ซึ่งพบในบริเวณชุมชนโบราณในลุ่มน้ำแควน้อย (สุจิตต์ วงษ์เทศ, 2548, หน้า 66-67) จากนิทานเรื่องบึงราชนก ผู้เขียนได้เคยสัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นซึ่งขณะนั้นอายุ 82 ปี ได้เล่านิทานที่เหมือนกับที่กล่าวมาข้างต้น จะต่างกันในรายละเอียดเล็กน้อย ตรงที่ว่า "หนุมาน... ก็จะนำหินก้อนใหญ่มาถมบึงราชนก" วิทยากรจะเล่าว่า "หนุมานไปหักยอดเขาฟ้ามาเพื่อช่วยเมืองราชนก" และเรื่องบ้านลาดตาขาว วิทยากรเล่าว่าม้านอนตายตาขาว ไม่ใช่ลูกสาวเจ้าเมืองนอนตายตาไม่หลับ (นายปั่น รวมญาติ ผู้ให้สัมภาษณ์, 22 กันยายน 2534) การเขียนชื่อภูเขานี้ในพระราชพงศาวดารเหนือ จะเขียนว่า "สมอแครง" ในสมัยปัจจุบันจะเขียนตามชื่อวัด ที่ผ่านการกลั่นกรองจากราชบัณฑิตและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานวิสุงคามสีมา ว่า "วัดสมอแคลง" เหตุที่เป็นดังรี้ก็เพราะเดิมทีเดียวเขาลูกนี้เรียกว่า "เขาตะแคง" จากนิทานท้องถิ่นของชาวบ้านวังทอง เรื่องบึงราชนก โดยมีลักษณะตะแคงไปทางทิศเหนือ ดังนั้นถ้าจะให้สอดคล้องต่อความหมายนี้ก็ต้องเขียนว่า "แคลง" ซึ่งตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 ให้ความหมายว่า "ตะแคง" ส่วนคำว่า สมอ ผู้เขียนสันนิษฐานว่าอาจจะสอดคล้องกับพระราชพงศาวดารเหนือ เรื่องที่ว่า "พระพุทธเจ้าฉันจังหันใต้ต้นสมอ" หรืออาจจะสันนิษฐานว่า คำว่า "สมอ" มาจากคำว่า "ถมอ" ในภาษาเขมร ที่แปลว่า "ก้อนหิน , หิน" ยกตัวอย่างเช่น สมอเรือ แต่เดิมก็คือก้อนหินผูกเชือกแล้วทิ้งลงในทะเลกันเรือลอยเคลื่อนที่ไป ถึงแม้ปัจจุบันจะทำด้วยเหล็ก ก็ยังเรียกว่าสมอเรือเช่นเดิม ดังนั้น "สมอแคลง" จึงแปลว่า "หินตะแคง" หรือ "ภูตะแคง" ซึ่งสอดคล้องกับนิทานพื้นบ้าน อีกประการหนึ่งก็คือ การเขียนในสมัยโบราณจะยึดถือมาเป็นการเขียนสมัยปัจจุบันทั้งหมดไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น เมืองพิศณุโลก เป็นต้น ปัจจุบันก็ไม่ได้เขียนเช่นนี้แล้ว
โรงเจไซทีฮุกตึ๊ง เป็นศาสนสถานนิกายมหายาน ในเบื้องต้นชาวจีนสร้างขึ้นเมื่อครั้งเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในเมืองพิษณุโลกใหม่ๆ เดิมทีมีเพียงเจ้าพ่อเห้งเจียเท่านั้น เคยเรียกกันว่าศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย หลังจากนั้นก็มีการขยายต่อเติม จนมาเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ อยู่ใกล้ๆ กับวัดราชคีรีหิรัญยาราม มีจุดชมวิวที่สวยงาม บนเขาสมอแคลงแห่งนี้จนได้ฉายาว่าเป็น ดอยสุเทพ 2 สำหรับที่มาของการขนานนามดอยสุเทพ 2 นั้น ผมเองยังไม่มีข้อมูลมากนัก แต่ในภายหลังที่ได้ศึกษาข้อมูลเขาสมอแคลงมากขึ้น ผมคิดว่าการขนานนามดอยสุเทพ 2 ไม่เพียงจะเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามคล้ายกับที่ดอยสุเทพเท่านั้น แต่ในอดีต ประชาชนชาวพิษณุโลก นิยมเดินขึ้นเขาสมอแคลงเพื่อสักการะพระมหาเจดีย์บนยอดเขาเป็นประจำทุกปี เหมือนกับที่ดอยสุเทพ แต่ในปัจจุบันคงเหลือเพียงงานประจำปีวัดเขาสมอแคลง สักการะรอยพระพุทธบาทเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ข้อมูลเขาสมอแคลง (ต่อ)
ในบรรดาโบราณวัตถุสถาน ที่ยังเหลือร่องรายในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก และอำเภอวังทอง 11 แห่ง "เขาสมอแคลง" จัดว่ามีความสำคัญและเป็นหนึ่งในโบราณวัตถุสถานเหล่านี้ (อำไพ สุลักษณานนท์, 2533, หน้า 17) นอกจากนี้แล้วโบราณวัตถุสถานที่เก่าแก่ที่สุดในเขตเมืองพิษณุโลกก็พบอยู่บนเขาสมอแคลงได้แก่ พระพุทธรูปนั่งสมัยทวารวดี ขนาดเท่าคนจริง 2 องค์ องค์หนึ่งถูกดัดแปลงให้เป็นพระพุทธรูปสมัยหลัง ปัจจุบันอยู่ในเขตวัดเขาพระบาทสมอแคลง อีกองค์หนึ่งพระเศียรถูกคนร้ายตัดไป แต่ยังคงรูปแบบให้เห็นว่า เป็นพระพุทธรูปนั่งสมัยทวารวดี ในท้องถิ่นอิสานอย่างชัดเจน ปัจจุบันอยู่ที่สำนักสงฆ์วัดตระพังนาค บนเขาสมอแคลง แสดงให้เห็นว่าเมื่อราวหลัง พ.ศ. 1100 มีการติดต่อของกลุ่มชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากับกลุ่มแม่น้ำโขง โดยผ่านเมืองพิษณุโลก (สุจิตต์ วงษ์เทศ, 2548, หน้า 52-53)
หลวงตาเสงี่ยม ธมฺมเตโช วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดพิษณุโลก อายุ 75 ปี (ผู้ให้สัมภาษณ์ , 23 ตุลาคม 2534) กล่าวว่าเมื่อท่านอายุประมาณ 23 ปี ได้ขึ้นไปเที่ยวเจดีย์ใหญ่ยอดเขา ซึ่งชาวบ้านทั่วไปจะเรียกว่า "เจดีย์ด้วน" ได้พบพระหินนั่งขนาดเท่าคนจริงปางมารวิชัย เจดีย์ใหญ่พังทลายได้พบพระโลหะและพระปูน ซึ่งก็สอดคล้องกับที่กล่าวว่านอกจากพระพุทธรูปแบบทวารวดีแล้ว บนเขาสมอแคลงยังพบพระพุทธรูปหินนั่งเป็นแบบลพบุรีตอนปลาย อย่างที่พบในเขตจังหวัดเลย หนองคาย และอุดรธานี ในภาคอีสานด้วย มีองค์หนึ่งได้มีผู้นำมาเก็บไว้ในวิหารน้อยในวัดวังทอง อำเภอวังทอง (สุจิตต์ วงษ์เทศ, 2548, หน้า 64)
ข้อมูลเขาสมอแคลง (ต่อ)
ในบรรดาโบราณวัตถุสถาน ที่ยังเหลือร่องรายในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก และอำเภอวังทอง 11 แห่ง "เขาสมอแคลง" จัดว่ามีความสำคัญและเป็นหนึ่งในโบราณวัตถุสถานเหล่านี้ (อำไพ สุลักษณานนท์, 2533, หน้า 17) นอกจากนี้แล้วโบราณวัตถุสถานที่เก่าแก่ที่สุดในเขตเมืองพิษณุโลกก็พบอยู่บนเขาสมอแคลงได้แก่ พระพุทธรูปนั่งสมัยทวารวดี ขนาดเท่าคนจริง 2 องค์ องค์หนึ่งถูกดัดแปลงให้เป็นพระพุทธรูปสมัยหลัง ปัจจุบันอยู่ในเขตวัดเขาพระบาทสมอแคลง อีกองค์หนึ่งพระเศียรถูกคนร้ายตัดไป แต่ยังคงรูปแบบให้เห็นว่า เป็นพระพุทธรูปนั่งสมัยทวารวดี ในท้องถิ่นอิสานอย่างชัดเจน ปัจจุบันอยู่ที่สำนักสงฆ์วัดตระพังนาค บนเขาสมอแคลง แสดงให้เห็นว่าเมื่อราวหลัง พ.ศ. 1100 มีการติดต่อของกลุ่มชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยากับกลุ่มแม่น้ำโขง โดยผ่านเมืองพิษณุโลก (สุจิตต์ วงษ์เทศ, 2548, หน้า 52-53)
หลวงตาเสงี่ยม ธมฺมเตโช วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดพิษณุโลก อายุ 75 ปี (ผู้ให้สัมภาษณ์ , 23 ตุลาคม 2534) กล่าวว่าเมื่อท่านอายุประมาณ 23 ปี ได้ขึ้นไปเที่ยวเจดีย์ใหญ่ยอดเขา ซึ่งชาวบ้านทั่วไปจะเรียกว่า "เจดีย์ด้วน" ได้พบพระหินนั่งขนาดเท่าคนจริงปางมารวิชัย เจดีย์ใหญ่พังทลายได้พบพระโลหะและพระปูน ซึ่งก็สอดคล้องกับที่กล่าวว่านอกจากพระพุทธรูปแบบทวารวดีแล้ว บนเขาสมอแคลงยังพบพระพุทธรูปหินนั่งเป็นแบบลพบุรีตอนปลาย อย่างที่พบในเขตจังหวัดเลย หนองคาย และอุดรธานี ในภาคอีสานด้วย มีองค์หนึ่งได้มีผู้นำมาเก็บไว้ในวิหารน้อยในวัดวังทอง อำเภอวังทอง (สุจิตต์ วงษ์เทศ, 2548, หน้า 64)
เจ้าแม่กวนอิมพันกร เป็นปางหนึ่งของเจ้าแม่กวนอิม ประดิษฐานอยู่ในโรงเจไซทีฮุกตึ๊ง นอกจากนี้ยังมีเพทเจ้าหรือเซียนอีกมากมายหลายองค์ มีประชาชนเดินทางมากราบไหว้ไม่ขาดสาย ด้านหน้าของโรงเจจะมีระเบียงให้สำหรับเดินชมวิวสวยๆ ของเขาสมอแคลง
ข้อมูลเขาสมอแคลง (ต่อ)
ความสำคัญของเขาสมอแคลงที่มีต่อชาวจังหวัดพิษณุโลกในสมัยก่อน คือ ในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 จะมีงานวัดเขาสมอแคลง ประชาชนชาวจังหวัดพิษณุโลก จะเดินขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาทตะแคง (พระฉาย) แล้วขึ้นไปเที่ยวบนเจดีย์ด้วนเป็นประจำทุกปีและถือว่าเป็นงานสุดท้ายของปี โดยเริ่มจากงานหลวงพ่อพุทธชินราช งานวัดจุฬามณี และงานวัดเขาสมอแคลง การเดินทางก้จะเริ่มเดินทางแต่เช้าตรู่เอาข้าวห่อไปรับประทานระหว่างทาง มีศาลาที่พักคนเดินทาง คือ ศาลาโคกช้าง ศาลาบ่อเจ๊ก ศาลาหนองกระชอน ไปหาน้ำดื่มบริเวณบ่อช้างล้วงตีนเขา หลังจากนั้นก็จะไปไหว้พระพุทธบาทแล้วปีนเขาต่อไปเพื่อไปเที่ยวที่เจดีย์ด้วน แหล่งน้ำบนยอดเขามีแห่งเดียวก็คือสระสองพี่น้องหรือสระศรีพิกุล แล้วจึงเดินทางไปเที่ยวชมเจดีย์ด้วน หลังจากนั้นก็จะเดินทางกลับมาถึงจังหวัดพิษณุโลกประมาณ 5 ทุ่ม (นายพุ่ม สุขล้ำเลิศ, นางสด ขุนเพิก, นางปลั่ง กลับน่วม, ผู้ให้สัมภาษณ์, 16 กันยายน 2534) จากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จะชี้ให้เห็นถึงพลังศรัทธาของประชาชนชาวจังหวัดพิษณุโลกที่มีต่อเขาสมอแคลงในอดีต ส่วนในปัจจุบันยังคงมีแต่งานวัดเขาสมอแคลง ซึ่งถือว่าเป็นเพียงงานประจำปีเท่านั้น
ข้อมูลเขาสมอแคลง (ต่อ)
ความสำคัญของเขาสมอแคลงที่มีต่อชาวจังหวัดพิษณุโลกในสมัยก่อน คือ ในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 จะมีงานวัดเขาสมอแคลง ประชาชนชาวจังหวัดพิษณุโลก จะเดินขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาทตะแคง (พระฉาย) แล้วขึ้นไปเที่ยวบนเจดีย์ด้วนเป็นประจำทุกปีและถือว่าเป็นงานสุดท้ายของปี โดยเริ่มจากงานหลวงพ่อพุทธชินราช งานวัดจุฬามณี และงานวัดเขาสมอแคลง การเดินทางก้จะเริ่มเดินทางแต่เช้าตรู่เอาข้าวห่อไปรับประทานระหว่างทาง มีศาลาที่พักคนเดินทาง คือ ศาลาโคกช้าง ศาลาบ่อเจ๊ก ศาลาหนองกระชอน ไปหาน้ำดื่มบริเวณบ่อช้างล้วงตีนเขา หลังจากนั้นก็จะไปไหว้พระพุทธบาทแล้วปีนเขาต่อไปเพื่อไปเที่ยวที่เจดีย์ด้วน แหล่งน้ำบนยอดเขามีแห่งเดียวก็คือสระสองพี่น้องหรือสระศรีพิกุล แล้วจึงเดินทางไปเที่ยวชมเจดีย์ด้วน หลังจากนั้นก็จะเดินทางกลับมาถึงจังหวัดพิษณุโลกประมาณ 5 ทุ่ม (นายพุ่ม สุขล้ำเลิศ, นางสด ขุนเพิก, นางปลั่ง กลับน่วม, ผู้ให้สัมภาษณ์, 16 กันยายน 2534) จากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จะชี้ให้เห็นถึงพลังศรัทธาของประชาชนชาวจังหวัดพิษณุโลกที่มีต่อเขาสมอแคลงในอดีต ส่วนในปัจจุบันยังคงมีแต่งานวัดเขาสมอแคลง ซึ่งถือว่าเป็นเพียงงานประจำปีเท่านั้น
พระบรมธาตุเจดีย์ศรีบวรชินรัตน์ เป็นพระบรมธาตุเจดีย์ที่สร้างไว้ ณ สำนักสงฆ์สระสองพี่น้อง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดราชคีรีหิรัญยาราม และโรงเจไซทีฮุกตึ๊ง เพียงไม่กี่ร้อยเมตร และเป็นบริเวณสุดทางบนยอดเขา
ข้อมูลเขาสมอแคลง (ต่อ)
บริเวณยอดเขามีกลุ่มโบราณสถานน่าจะเป็นแหล่งโบราณคดีที่เคยมีความสำคัญมาก่อนเนื่องจากพบศาสนสถานเรียงรายกันอย่างต่อเนื่อง และพบร่องรอยของวัดร้างอีกสองสามแห่งเช่นเดียวกัน (อำไพ สุลักษณานนท์, 2535, หน้า 17) บนเขาแห่งนี้มีวัดหลายวัด ส่วนใหญ่จะอยู่ทางทิศตะวันตกได้แก่ วัดราชคีรีหิรัญยาราม ต่อขึ้นไปก็คือ วัดเจดีย์สามยอด หรือวัดเจดีย์สามองค์ ต่อขึ้นไปก็คือวัดสะพานนาค หรือวัดตระพังนาค ที่นี่จะมีมณฑปใหญ่ ต่อจากนั้นมีเจดีย์โบราณเล็กๆ 2 องค์ คือเจดีย์สองพี่น้อง ที่แห่งนี้จะมีสระสองพี่น้องหรือสระศรีพิกุลต่อจากนั้นขึ้นไปก็จะเป็นมหาเจดีย์อยู่บนยอดเขา (นายปั่น รวมญาติ, ผู้ให้สัมภาษณ์, 22 กันยายน 2534)
สระสองพี่น้องหรือสระศรีพิกุลซึ่งเป็นแหล่งน้ำแห่งเดียวบนยอดเขาสมอแคลงมีผู้เล่าว่าได้พบปลาพระร่วง และหอยตัดก้นแล้วแต่ยังเดินได้ (นางปทุม วรรณสว่าง , ผู้ให้สัมภาษณ์, 3 กุมภาพันธ์ 2547) ประมาณ ปี พ.ศ.2525 ได้มีการรุสระสองพี่น้อง แต่ปรากฏว่าทำไม่สำเร็จเนื่องจากรถขุดยางระเบิดเสียก่อน ต่อมาชาวบ้านพบตะพาบน้ำสองตัวแล้วเอาไปกิน เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกัน ในที่สุดการรุสระสองพี่น้องก็ไม่เป็นผล ชาวบ้านจึงมีความเชื่อว่าเป็นสระศักดิ์สิทธิ์ สระสองพี่น้องแห่งนี้มีน้ำอยู่ตลอดปีไม่เคยแห้ง และคำว่า "สองพี่น้อง" นักวิชาการบางคนสันนิษฐานว่า เป็นสระที่สร้างในสมัย "พระร่วง - พระลือ" หรือสมัย "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช - พระเอกาทศรถ" (นายแกะ นิ่มน้อย, ผู้ให้สัมภาษณ์, 15 กันยายน 2534)
จากเรื่องสระสองพี่น้องที่วิยากรท้องถิ่นได้ให้สัมภาษณ์ก็ตรงกับ อำไพ สุลักษณานนท์ (2535, หน้า 18) กล่าวไว้ว่า ใกล้กับเจดีย์ใหญ่ยังพบสระน้ำโบราณ ปัจจุบันถูกทิ้งร้างมิได้ใช้ประโยชน์อันใด มีนิทานเล่าสืบต่อกันมาว่า แต่เดิมมีปลาก้างอยู่มากมาย ชาวบ้านเรียกสระสองพี่น้อง บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงมีถ้ำ ชื่อ ถ้ำยายชี และถ้ำตาเถร"
ข้อมูลเขาสมอแคลง (ต่อ)
บริเวณยอดเขามีกลุ่มโบราณสถานน่าจะเป็นแหล่งโบราณคดีที่เคยมีความสำคัญมาก่อนเนื่องจากพบศาสนสถานเรียงรายกันอย่างต่อเนื่อง และพบร่องรอยของวัดร้างอีกสองสามแห่งเช่นเดียวกัน (อำไพ สุลักษณานนท์, 2535, หน้า 17) บนเขาแห่งนี้มีวัดหลายวัด ส่วนใหญ่จะอยู่ทางทิศตะวันตกได้แก่ วัดราชคีรีหิรัญยาราม ต่อขึ้นไปก็คือ วัดเจดีย์สามยอด หรือวัดเจดีย์สามองค์ ต่อขึ้นไปก็คือวัดสะพานนาค หรือวัดตระพังนาค ที่นี่จะมีมณฑปใหญ่ ต่อจากนั้นมีเจดีย์โบราณเล็กๆ 2 องค์ คือเจดีย์สองพี่น้อง ที่แห่งนี้จะมีสระสองพี่น้องหรือสระศรีพิกุลต่อจากนั้นขึ้นไปก็จะเป็นมหาเจดีย์อยู่บนยอดเขา (นายปั่น รวมญาติ, ผู้ให้สัมภาษณ์, 22 กันยายน 2534)
สระสองพี่น้องหรือสระศรีพิกุลซึ่งเป็นแหล่งน้ำแห่งเดียวบนยอดเขาสมอแคลงมีผู้เล่าว่าได้พบปลาพระร่วง และหอยตัดก้นแล้วแต่ยังเดินได้ (นางปทุม วรรณสว่าง , ผู้ให้สัมภาษณ์, 3 กุมภาพันธ์ 2547) ประมาณ ปี พ.ศ.2525 ได้มีการรุสระสองพี่น้อง แต่ปรากฏว่าทำไม่สำเร็จเนื่องจากรถขุดยางระเบิดเสียก่อน ต่อมาชาวบ้านพบตะพาบน้ำสองตัวแล้วเอาไปกิน เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกัน ในที่สุดการรุสระสองพี่น้องก็ไม่เป็นผล ชาวบ้านจึงมีความเชื่อว่าเป็นสระศักดิ์สิทธิ์ สระสองพี่น้องแห่งนี้มีน้ำอยู่ตลอดปีไม่เคยแห้ง และคำว่า "สองพี่น้อง" นักวิชาการบางคนสันนิษฐานว่า เป็นสระที่สร้างในสมัย "พระร่วง - พระลือ" หรือสมัย "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช - พระเอกาทศรถ" (นายแกะ นิ่มน้อย, ผู้ให้สัมภาษณ์, 15 กันยายน 2534)
จากเรื่องสระสองพี่น้องที่วิยากรท้องถิ่นได้ให้สัมภาษณ์ก็ตรงกับ อำไพ สุลักษณานนท์ (2535, หน้า 18) กล่าวไว้ว่า ใกล้กับเจดีย์ใหญ่ยังพบสระน้ำโบราณ ปัจจุบันถูกทิ้งร้างมิได้ใช้ประโยชน์อันใด มีนิทานเล่าสืบต่อกันมาว่า แต่เดิมมีปลาก้างอยู่มากมาย ชาวบ้านเรียกสระสองพี่น้อง บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงมีถ้ำ ชื่อ ถ้ำยายชี และถ้ำตาเถร"
พระบรมธาตุเจดีย์ศรีบวรชินรัตน์ รอบๆ องค์เจดีย์มีระเบียงที่สร้างยื่นออกมาคล้ายหน้าผาเป็นลานประทักษินสำหรับเวียนเทียนได้รอบๆ นอกจากนั้นยังเป็นจุดชมวิวเขาสมอแคลงของสำนักสงฆ์สระสองพี่น้องแห่งนี้ด้วย ยอดเจดีย์มีพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระนลาฏบรรจุอยู่ เจดีย์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548
ข้อมูลเขาสมอแคลง (ต่อ)
บนยอดเขาสมอแคลงมีพระมหาเจดีย์ศิลปะลังกาซึ่งได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากรแล้วแต่ยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ จากการกำหนดอายุทางโบราณคดีสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยสมเด็นพระบรมไตรโลกนาถ (อำไพ สุลักษณานนท์, 2535, หน้า 17) หลวงตาเสงี่ยม ธมฺมเตโช (ผู้ให้สัมภาษณ์, 23 ตุลาคม 2534) กล่าวว่าสมัยที่ท่านยังเป็นฆราวาส อายุประมาณ 23 ปี ท่านได้ขึ้นไปเที่ยวที่พระเจดีย์ พระเจดีย์ในขณะนั้นปรักหักพังทับถมกันเป็นกองดินปนอิฐ ท่านพบเจดีย์กลวงทางด้านล่างเนื่องจากสัตว์ขุดเข้าไว้เป็นโพรงใหญ่พอตัวคนลอดเข้าไปได้ ท่านจึงคลานเข้าไปสำรวจพบว่าตอนกลางเจดีย์เป็นโพรงสามชั้น เข้าใจว่าจะมีการสร้างครอบเจดีย์เดิมถึงสามครั้ง ภายในพบพระโลหะและพระปูนมากมายและบริเวณที่อยู่ใกล้พระเจดีย์ จะมีถ้ำๆ หนึ่งเรียกว่า "ถ้ำยายชี"
ในปี พ.ศ. 2546 ผู้เขียนได้นำนิสิตปริญญาโท วิชาเอกภาษาไทยไปทัศนศึกษา ที่อุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชชนาลับ คุณสุวิทย์ ชัยมงคล หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชชนาลัย ได้กรุณาให้ความอนุเคราะห์โดยให้เจ้าหน้าที่นักโบราณคดีนำชมสถานที่ในอุทยานประวัติศาสตร์ เมื่อมาถึงวัดพระปรางค์ เจ้าหน้าที่นักโบราณคดีได้ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องตำนานของพระร่วงและพระลือ ต่อจากนั้นได้กล่าวว่า พระปรางค์แห่งนี้สร้างขึ้นโดยพระร่วง และเจดีย์ใหญ่ที่เขาสมอแคลงสร้างขึ้นโดย พระลือ วิทยากรกล่าวว่า พระปรางค์และพระเจดีย์ใหญ่จะอยู่ในแนวเดียวกัน คือถ้าปีนพระปรางค์ขึ้นไป ก็จะเห็นพระเจดีย์ใหญ่บนเขาสมอแคลงได้อย่างชัดเจน (เจ้าหน้าที่นักโบราณคดี, ผู้ให้สัมภาษณ์, 1 มีนาคม 2546) จากเรื่องที่กล่าวมานี้อาจจะพอสันนิษฐานได้ว่า การสร้างพระมหาเจดีย์ สร้างขึ้นสามสมัย คือ สมัยพระร่วง พระลือ (ยุคก่อนกรุงสุโขทัย) สมัยพระบรมไตรโลกนาถ และสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก็อาจจะเป็นได้
ข้อมูลเขาสมอแคลง (ต่อ)
บนยอดเขาสมอแคลงมีพระมหาเจดีย์ศิลปะลังกาซึ่งได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากรแล้วแต่ยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ จากการกำหนดอายุทางโบราณคดีสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยสมเด็นพระบรมไตรโลกนาถ (อำไพ สุลักษณานนท์, 2535, หน้า 17) หลวงตาเสงี่ยม ธมฺมเตโช (ผู้ให้สัมภาษณ์, 23 ตุลาคม 2534) กล่าวว่าสมัยที่ท่านยังเป็นฆราวาส อายุประมาณ 23 ปี ท่านได้ขึ้นไปเที่ยวที่พระเจดีย์ พระเจดีย์ในขณะนั้นปรักหักพังทับถมกันเป็นกองดินปนอิฐ ท่านพบเจดีย์กลวงทางด้านล่างเนื่องจากสัตว์ขุดเข้าไว้เป็นโพรงใหญ่พอตัวคนลอดเข้าไปได้ ท่านจึงคลานเข้าไปสำรวจพบว่าตอนกลางเจดีย์เป็นโพรงสามชั้น เข้าใจว่าจะมีการสร้างครอบเจดีย์เดิมถึงสามครั้ง ภายในพบพระโลหะและพระปูนมากมายและบริเวณที่อยู่ใกล้พระเจดีย์ จะมีถ้ำๆ หนึ่งเรียกว่า "ถ้ำยายชี"
ในปี พ.ศ. 2546 ผู้เขียนได้นำนิสิตปริญญาโท วิชาเอกภาษาไทยไปทัศนศึกษา ที่อุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชชนาลับ คุณสุวิทย์ ชัยมงคล หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชชนาลัย ได้กรุณาให้ความอนุเคราะห์โดยให้เจ้าหน้าที่นักโบราณคดีนำชมสถานที่ในอุทยานประวัติศาสตร์ เมื่อมาถึงวัดพระปรางค์ เจ้าหน้าที่นักโบราณคดีได้ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องตำนานของพระร่วงและพระลือ ต่อจากนั้นได้กล่าวว่า พระปรางค์แห่งนี้สร้างขึ้นโดยพระร่วง และเจดีย์ใหญ่ที่เขาสมอแคลงสร้างขึ้นโดย พระลือ วิทยากรกล่าวว่า พระปรางค์และพระเจดีย์ใหญ่จะอยู่ในแนวเดียวกัน คือถ้าปีนพระปรางค์ขึ้นไป ก็จะเห็นพระเจดีย์ใหญ่บนเขาสมอแคลงได้อย่างชัดเจน (เจ้าหน้าที่นักโบราณคดี, ผู้ให้สัมภาษณ์, 1 มีนาคม 2546) จากเรื่องที่กล่าวมานี้อาจจะพอสันนิษฐานได้ว่า การสร้างพระมหาเจดีย์ สร้างขึ้นสามสมัย คือ สมัยพระร่วง พระลือ (ยุคก่อนกรุงสุโขทัย) สมัยพระบรมไตรโลกนาถ และสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก็อาจจะเป็นได้
วิวเขาสมอแคลงสำนักสงฆ์สระสองพี่น้อง ข้อมูลเขาสมอแคลง (ต่อ)
นอกจากนี้ในซากปรักหักพังของพระมหาเจดีย์ บนยอดเขาสมอแคลงยังพบก้อนอิฐขนาดใหญ่ มีตราประทับเป็นรูปต่างๆ ประมาณ 30 กว่ารูป (นายปั่น รวมญาติ, ผู้ให้สัมภาษณ์, 22 กันยายน 2534) และนิกร วริรักษ์ (2535, หน้า 45-47) ได้กล่าวว่า คุณระเบียบ สำรวล ข้าราชการกรมศิลปากร ช่างศิลปกรรม สังกัดหน่วยกรมศิลปากรที่ 3 จังหวัดสุโขทัยได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้เป็นผู้ควบคุมการบูรณะเจดีย์บนยอดเขาสมอแคลง ท่านได้คัดลอกตราที่ประทับบนแผ่นอิฐและลายขีดเขียนที่พบบนแผ่นกระเบื้องที่ค้นพบมาทั้งหมด ตราประทับบนแผ่นอิฐพระเจดีย์ด้วน มีทั้งหมด 27 ภาพ โดยจัดเป็นหมวดดังต่อไปนี้
หมวดที่ 1 ลายดวงดอกทรงกลม
หมวดที่ 2 ลายดอกไม้ประดิษฐ์ทรงกลม
หมวดที่ 3 ลายสัตว์ทรงกลม
หมวดที่ 4 ลายเทพทรงกลม
หมวดที่ 5 ลายเทพทรงสามเหลี่ยมโค้ง
หมวดที่ 6 ลายในกรอบแปดเหลี่ยม
หมวดที่ 7 ลายหงส์คู่ในกรอบโค้งเจ็ดลอน
หมวดที่ 8 ลายสัตว์ในกรอบสี่เหลี่ยม
หมวดที่ 9 ลายดอกไม้ประดิษฐ์ในกรอบสี่เหลี่ยม
หมวดที่ 10 ลายคล้ายช้างชนกัน
หมวดที่ 11 ลายทรงเรขาคณิต
นอกจากนี้ในซากปรักหักพังของพระมหาเจดีย์ บนยอดเขาสมอแคลงยังพบก้อนอิฐขนาดใหญ่ มีตราประทับเป็นรูปต่างๆ ประมาณ 30 กว่ารูป (นายปั่น รวมญาติ, ผู้ให้สัมภาษณ์, 22 กันยายน 2534) และนิกร วริรักษ์ (2535, หน้า 45-47) ได้กล่าวว่า คุณระเบียบ สำรวล ข้าราชการกรมศิลปากร ช่างศิลปกรรม สังกัดหน่วยกรมศิลปากรที่ 3 จังหวัดสุโขทัยได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้เป็นผู้ควบคุมการบูรณะเจดีย์บนยอดเขาสมอแคลง ท่านได้คัดลอกตราที่ประทับบนแผ่นอิฐและลายขีดเขียนที่พบบนแผ่นกระเบื้องที่ค้นพบมาทั้งหมด ตราประทับบนแผ่นอิฐพระเจดีย์ด้วน มีทั้งหมด 27 ภาพ โดยจัดเป็นหมวดดังต่อไปนี้
หมวดที่ 1 ลายดวงดอกทรงกลม
หมวดที่ 2 ลายดอกไม้ประดิษฐ์ทรงกลม
หมวดที่ 3 ลายสัตว์ทรงกลม
หมวดที่ 4 ลายเทพทรงกลม
หมวดที่ 5 ลายเทพทรงสามเหลี่ยมโค้ง
หมวดที่ 6 ลายในกรอบแปดเหลี่ยม
หมวดที่ 7 ลายหงส์คู่ในกรอบโค้งเจ็ดลอน
หมวดที่ 8 ลายสัตว์ในกรอบสี่เหลี่ยม
หมวดที่ 9 ลายดอกไม้ประดิษฐ์ในกรอบสี่เหลี่ยม
หมวดที่ 10 ลายคล้ายช้างชนกัน
หมวดที่ 11 ลายทรงเรขาคณิต
พระมหาเจดีย์หรือเจดีย์ด้วน เป็นภาพสุดท้ายที่ผมจะนำมาให้ชมกันสำหรับสถานที่สำคัญบนเขาสมอแคลง สำหรับวัดเขาสมอแคลงซึ่งมีรอยพระพุทธบาทนั้นอยู่ที่เชิงเขาสมอแคลง มีทางเลี้ยวเข้าวัดห่างจากทางแยกขึ้นเขาสมอแคลงประมาณ 50 เมตร เดิมทีจากข้อมูลเขาสมอแคลงเราจะเห็นได้ว่าในอดีตมีประชาชนเดินจากวัดเขาสมอแคลงขึ้นยอดเขาที่เจดีย์ด้วนแห่งนี้เป็นเหมือนประเพณีที่ค่อยๆ หายไปในปัจจุบัน แต่ในทางกลับกัน จำนวนนักท่องเที่ยวที่ขึ้นเขาสมอแคลงด้วยรถยนต์มีมากตลอดปี บนเขาสมอแคลงจะมีวิวสวยๆ ในฤดูหนาวให้ได้ชมด้วย
ข้อมูลเขาสมอแคลง (ต่อ)
ลวดลายขีดเขียนบนแผ่นอิฐที่พระเจดีย์บนยอดเขาสมอแคลงมีทั้งหมด 32 ก้อน ในจำนวนนี้มีทั้งลายลักษณ์อักษรที่ยังไม่มีการอ่านถอดความ ลวดลายขีดเขียนที่น่าจะมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่าการเขียนลวดลายศิลปะเท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นลวดลายเชิงศิลปกรรม ลายกนก และลายเส้นตัดกันไปมาเป็นรูปขนมเปียกปูน คล้ายๆ การแบ่งช่อง แบ่งลาย มีบางก้อนแสดงถึงฝีมือช่างเขียนค่อนข้างดี มีเส้นที่มั่นคงแสดงถึงมือเที่ยงแต่ขาดเจตนาในการเขียนเข้าใจว่าเป็นการเขียนเล่นแก้ว่าง
จากลวดลายเหล่านี้ก็สอดคล้องกับเรื่องราวที่ปรากฏในพงศาวดารเหนือที่กล่าวถึงเรื่อง จ่านกร้อง และ จ่าการบุรณ์ เกณฑ์ไพร่คนทำอิฐประมาณ 2,000 คน จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่ตราเหล่านั้น ทำขึ้นเพื่อแสดงถึงจำนวนอิฐ ที่ได้รับเกณฑ์ให้ทำในแต่ละกลุ่ม นอกจากนี้ลวดลายขีดเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรที่ปรากฏบนแผ่นอิฐที่เขาสมอแคลง ก็มีลายลักษณ์ใกล้เคียงกับที่ผู้เขียนได้พบลายลักษณ์บนแผ่นอิฐที่อำเภอนครไทย ซึ่งอาจจะแสดงถึงร่องรอยการติดต่อระหว่างนครไทยและพิษณุโลก โดยมีลำน้ำแควน้อยและลำน้ำวังทองเป็นเส้นทางการคมนาคมที่สำคัญ นอกจากบนเขาสมอแคลงแล้ว ยังมีผู้ค้นพบแผ่นอิฐบริเวณใกล้เคียงอีก เช่น บึงราชนก บึงหนองแหวน เป็นต้น ผู้ให้สัมภาษณ์ได้พบก้อนอิฐลายรูปนกที่บึงหนองแหวน เมื่อ พ.ศ. 2504 (นางพู สมสิน, ผู้ให้สัมภาษณ์, 22 กันยายน 2534)
จากคำกล่าวที่ว่า จากเรื่องจริงกลายเป็นตำนาน จากตำนานกลายเป็นนิทาน ดังนั้นการเขียนเรื่องเขาสมอแคลงนี้จึงเป็นความพยายามที่จะหาข้อเท็จจริงซึ่งอาจจะมีหลงเหลืออยู่บ้างในตำนานและนิทาน ประกอบกับหลักฐานทางโบราณคดีสมัยทวาราวดี สมัยลพบุรี พลังศรัทธาของประชาชนชาวพิษณุโลก สมัย 50 ปีที่แล้ว ที่เดินไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่เขาสมอแคลง เพื่อสักการะบูชาพระมหาเจดีย์บนยอดเขา แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเขาสมอแคลงในอดีตกาล ผู้เขียนจึงหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเขาสมอแคลงและเมืองพิษณุโลกต่อไป
สำหรับข้อมูลที่ผมคัดมานับว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมาก จึงได้นำมารวมไว้โดยมีภาพสถานที่ประกอบ แต่ด้วยความยาวของเนื้อหาเชิงวิชาการ ผมก็เลยวางตามความเหมาะสม บางตอนอาจจะไม่สัมพันธ์กับภาพ แต่ถ้าหากได้อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ จะเห็นว่าเรื่องราวความเป็นมาของเขาสมอแคลงแห่งนี้ เกี่ยวข้องกับชาวไทยและมีความสำคัญอย่างมากควรค่าแก่การศึกษาค้นคว้าต่อไปเหมือนกับที่อาจารย์จุฑารัตน์ เกตุปาน ได้กล่าวไว้
สำหรับหน้านี้ผมต้องการให้ข้อมูลที่สำคัญของเขาสมอแคลง เพื่อคลายข้อสงสัยในเรื่องตัวสะกด ว่าจะใช้ สมอแครง หรือ สมอแคลง และข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับเขาสมอแคลงเท่านั้น สำหรับข้อมูลของสถานที่ต่างๆ ที่อยู่บนเขาและรูปภาพหากต้องการชมภาพของวัดต่างๆ บนเขาสมอแคลงให้มากกว่านี้ ให้คลิกตามลิงค์ดังนี้
พระเจดีย์ด้วน - สำนักสงฆ์สระสองพี่น้อง
พระบรมธาตุเจดีย์ศรีบวรชินรัตน์ - สำนักสงฆ์สระสองพี่น้อง
วัดราชคีรีหิรัญยาราม
ข้อมูลเขาสมอแคลง (ต่อ)
ลวดลายขีดเขียนบนแผ่นอิฐที่พระเจดีย์บนยอดเขาสมอแคลงมีทั้งหมด 32 ก้อน ในจำนวนนี้มีทั้งลายลักษณ์อักษรที่ยังไม่มีการอ่านถอดความ ลวดลายขีดเขียนที่น่าจะมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่าการเขียนลวดลายศิลปะเท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นลวดลายเชิงศิลปกรรม ลายกนก และลายเส้นตัดกันไปมาเป็นรูปขนมเปียกปูน คล้ายๆ การแบ่งช่อง แบ่งลาย มีบางก้อนแสดงถึงฝีมือช่างเขียนค่อนข้างดี มีเส้นที่มั่นคงแสดงถึงมือเที่ยงแต่ขาดเจตนาในการเขียนเข้าใจว่าเป็นการเขียนเล่นแก้ว่าง
จากลวดลายเหล่านี้ก็สอดคล้องกับเรื่องราวที่ปรากฏในพงศาวดารเหนือที่กล่าวถึงเรื่อง จ่านกร้อง และ จ่าการบุรณ์ เกณฑ์ไพร่คนทำอิฐประมาณ 2,000 คน จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่ตราเหล่านั้น ทำขึ้นเพื่อแสดงถึงจำนวนอิฐ ที่ได้รับเกณฑ์ให้ทำในแต่ละกลุ่ม นอกจากนี้ลวดลายขีดเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรที่ปรากฏบนแผ่นอิฐที่เขาสมอแคลง ก็มีลายลักษณ์ใกล้เคียงกับที่ผู้เขียนได้พบลายลักษณ์บนแผ่นอิฐที่อำเภอนครไทย ซึ่งอาจจะแสดงถึงร่องรอยการติดต่อระหว่างนครไทยและพิษณุโลก โดยมีลำน้ำแควน้อยและลำน้ำวังทองเป็นเส้นทางการคมนาคมที่สำคัญ นอกจากบนเขาสมอแคลงแล้ว ยังมีผู้ค้นพบแผ่นอิฐบริเวณใกล้เคียงอีก เช่น บึงราชนก บึงหนองแหวน เป็นต้น ผู้ให้สัมภาษณ์ได้พบก้อนอิฐลายรูปนกที่บึงหนองแหวน เมื่อ พ.ศ. 2504 (นางพู สมสิน, ผู้ให้สัมภาษณ์, 22 กันยายน 2534)
จากคำกล่าวที่ว่า จากเรื่องจริงกลายเป็นตำนาน จากตำนานกลายเป็นนิทาน ดังนั้นการเขียนเรื่องเขาสมอแคลงนี้จึงเป็นความพยายามที่จะหาข้อเท็จจริงซึ่งอาจจะมีหลงเหลืออยู่บ้างในตำนานและนิทาน ประกอบกับหลักฐานทางโบราณคดีสมัยทวาราวดี สมัยลพบุรี พลังศรัทธาของประชาชนชาวพิษณุโลก สมัย 50 ปีที่แล้ว ที่เดินไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่เขาสมอแคลง เพื่อสักการะบูชาพระมหาเจดีย์บนยอดเขา แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเขาสมอแคลงในอดีตกาล ผู้เขียนจึงหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเขาสมอแคลงและเมืองพิษณุโลกต่อไป
สำหรับข้อมูลที่ผมคัดมานับว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมาก จึงได้นำมารวมไว้โดยมีภาพสถานที่ประกอบ แต่ด้วยความยาวของเนื้อหาเชิงวิชาการ ผมก็เลยวางตามความเหมาะสม บางตอนอาจจะไม่สัมพันธ์กับภาพ แต่ถ้าหากได้อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ จะเห็นว่าเรื่องราวความเป็นมาของเขาสมอแคลงแห่งนี้ เกี่ยวข้องกับชาวไทยและมีความสำคัญอย่างมากควรค่าแก่การศึกษาค้นคว้าต่อไปเหมือนกับที่อาจารย์จุฑารัตน์ เกตุปาน ได้กล่าวไว้
สำหรับหน้านี้ผมต้องการให้ข้อมูลที่สำคัญของเขาสมอแคลง เพื่อคลายข้อสงสัยในเรื่องตัวสะกด ว่าจะใช้ สมอแครง หรือ สมอแคลง และข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับเขาสมอแคลงเท่านั้น สำหรับข้อมูลของสถานที่ต่างๆ ที่อยู่บนเขาและรูปภาพหากต้องการชมภาพของวัดต่างๆ บนเขาสมอแคลงให้มากกว่านี้ ให้คลิกตามลิงค์ดังนี้
พระเจดีย์ด้วน - สำนักสงฆ์สระสองพี่น้อง
พระบรมธาตุเจดีย์ศรีบวรชินรัตน์ - สำนักสงฆ์สระสองพี่น้อง
วัดราชคีรีหิรัญยาราม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น