ประวัติศาสตร์[แก้ไขต้นฉบับ]
สมัยสุโขทัย[แก้ไขต้นฉบับ]
เดิมเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่สมัยขอม โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในศิลาจารึก ตำนาน นิทาน และพงศาวดาร เช่น สองแคว สองแควทวิสาขะ และไทยวนที[ต้องการอ้างอิง] เมืองอยู่ห่างจากที่ตั้งเมืองปัจจุบันลงไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร เรียกว่า "เมืองสองแคว" ที่เรียกเช่นนี้ เพราะตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำน่าน กับแม่น้ำแควน้อย แต่ปัจจุบันแม่น้ำแควน้อยเปลี่ยนทางเดินออกห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 10 กิโลเมตร
เมืองสองแควอยู่ในอำนาจของราชวงศ์ผาเมือง จนกระทั่งในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงได้ยึดเมืองสองแคว ที่ตั้งตัวเมืองเก่าในปัจจุบันคือ บริเวณวัดจุฬามณี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของพิษณุโลก แต่เมื่อประมาณพุทธศักราช 1900 พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้โปรด ให้ย้ายเมืองสองแคว มาตั้งอยู่ ณ บริเวณตัวเมืองในปัจจุบัน และยังคงเรียกกันติดปากว่า เมืองสองแคว เรื่อยมา
ครั้นสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้เสด็จมาประทับที่เมืองสองแคว พระองค์ได้เอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงนำความเจริญเป็นอย่างยิ่ง เช่น การสร้างเหมืองฝาย สนับสนุนให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก สร้างทางคมนาคมจากเมืองพิษณุโลกไปเมืองสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา เพื่อประดิษฐานไว้ใน พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่)
สมัยอยุธยา[แก้ไขต้นฉบับ]
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จกรีธาทัพมาหมายจะชิงสุโขทัยซึ่งพระยายุทธิษฐิระ (พระอนุชาของพระองค์) ได้ไปสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา พระองค์จึงทรงสร้างเมืองใหม่บริเวณเมืองสองแควและเมืองชัยนาท ขนานนามว่า เมืองพระพิษณุโลกสองแคว สำหรับการที่เรียกว่าพระพิษณุโลกสองแควนั้น คาดว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงแปลงคำจาก สรลวงสองแคว, สรลวง มีความหมายว่า สรวง คือ พระวิษณุ (พระนารายณ์) [4] โดยทรงหมายมั่นให้เป็นราชธานีฝ่ายเหนือคู่กับกรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา
พิษณุโลกสมัยอยุธยามีความสำคัญยิ่งทางด้านการเมืองการปกครอง ยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจ ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม พิษณุโลกเป็นราชธานีในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ตั้งแต่ พ.ศ. 2006-พ.ศ. 2031รวม 25 ปี นับว่าระยะนี้เป็นยุคทองของพิษณุโลก[ต้องการอ้างอิง]
ในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราช ณ เมืองพิษณุโลก ระหว่าง พ.ศ. 2112-พ.ศ. 2133 ได้ทรงปลุกสำนึกให้ชาวพิษณุโลกเป็นนักกอบกู้เอกราชเพื่อชาติไทย[ต้องการอ้างอิง]ทรงสถาปนาพิษณุโลกเป็นเมืองเอก เป็นการประสานต่อความเจริญรุ่งเรืองจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน
ด้านเศรษฐกิจ[แก้ไขต้นฉบับ]
เนื่องจากพิษณุโลกตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างรัฐ คือ อาณาจักรล้านนาทางเหนือกับกรุงศรีอยุธยาในทางใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทั้งสองบางครั้งเป็นไมตรีกันบางครั้งขัดแย้งกัน ทำสงครามต่อกัน มีผลให้เมืองพิษณุโลกได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีทั้ง 2 รัฐ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจพิษณุโลกเป็นเส้นทางสินค้าของป่า และผลิตผลทางการเกษตร รวมทั้งเครื่องถ้วย โดยอาศัยการคมนาคมผ่านลำน้ำน่านสู่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของการค้านานาชาติแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในปัจจุบันที่พิษณุโลก มีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นแหล่งผลิตเครื่องถ้วยคุณภาพดี ซึ่งมีอยู่ทั่วไปบริเวณฝั่งแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อย โดยเฉพาะที่วัดตาปะขาวหาย พบเตาเผาเครื่องถ้วยเป็นจำนวนมาก พร้อมเครื่องถ้วยจำพวกโอ่ง อ่าง ไห ฯลฯ เครื่องถ้วยเหล่านี้ นอกจากจะใช้ในท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นสินค้าส่งออกไปขายต่างประเทศด้วย วินิจฉัยว่าน่าจะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นับว่าเมืองพิษณุโลกมีความสำคัญยิ่งทางเศรษฐกิจ คือเป็นแหล่งทรัพยากรของกรุงศรีอยุธยา[ต้องการอ้างอิง]
ด้านศาสนา[แก้ไขต้นฉบับ]
แม้ว่าเมืองพิษณุโลกจะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสงครามระหว่างอยุธยากับล้านนาและอยุธยากับพม่ามาตลอด แต่การศาสนาก็มิได้ถูกละเลย ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถานชี้ให้เห็นชัดเจนว่า พระพุทธรูปและวัดปรากฏในปัจจุบันเช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี พระศรีศาสดา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร(วัดใหญ่) วัดจุฬามณี วัดอรัญญิก วัดนางพญา วัดราชบูรณะ วัดสระแก้วปทุมทอง วัดเจดีย์ยอดทอง วัดสุดสวาสดิ์ และวัดวังหิน ล้วนเป็นศิลปวัฒนธรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือมิฉะนั้นก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ของเดิมที่มีมาครั้งกรุงสุโขทัย แสดงว่าด้านพระศาสนาได้มีการบำรุงมาโดยตลอด
ในปัจจุบัน ทั้งพระพุทธชินศรีและพระศรีศาสดาได้ถูกอัญเชิญมาประดิษฐานที่กรุงเทพมหานคร มีเรื่องเล่ากันว่า จากเดิมจะอัญเชิญพระพุทธชินราชมาด้วย แต่เมื่อเอาลงแพ เตรียมที่จะล่องลำน้ำน่านนั้น แพก็ไม่ยอมเคลื่อนที่ แม้จะตรวจเท่าไร ก็ไม่พบว่าแพติดอะไร แต่แพที่ใช้ในการย้ายก็ไม่ยอมไหลตามน้ำ จึงทำการบวงสรวงขอขมา แล้วนำขึ้นมาประดิษฐานไว้ตามเดิมจนถึงปัจจุบัน ว่ากันว่า ท่านเป็นห่วงเมืองของท่าน จะอยู่ปกป้อง[ต้องการอ้างอิง]
ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารวัดจุฬามณีขึ้นในปี พ.ศ. 2007 และพระองค์ได้ทรงสละราชสมบัติออกผนวช ณ วัดจุฬามณี อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2008 เป็นเวลา 8 เดือน 15 วัน มีข้าราชบริพารตามเสด็จออกบวชถึง 2,348 คน[ต้องการอ้างอิง] และในปี พ.ศ. 2025 มีพระบรมราชโองการให้บูรณะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุและให้มีการสมโภชถึง 15 วัน พร้อมกันนั้นได้โปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวง จบ 13 กัณฑ์บริบูรณ์ด้วย ต่อมาในสมัยรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองเมื่อ พ.ศ. 2222 และโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ วัดจุฬามณี พร้อมทั้งจารึกเหตุการณ์สำคัญทางศาสนาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถไว้บนแผ่นศิลาด้วย
ในส่วนของวัดสุดสวาทดิ์นั้น ว่ากันว่าเป็นวัดที่เก่าแก่สร้างในสมัยเดียวกับวัดนางพญา โดยวัดสุดสวาทดิ์นั้นเป็นวัดที่กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองพิษณุโลกสร้างให้กับมเหสีที่รักมากที่สุด จึงตั้งชื่อให้ว่า "สุดสวาท" และมีการสร้างพระนางสุดสวาสดิ์ขึ้นมาด้วย พุทธคุณเท่ากับพระนางพญา วัดนางพญา[ต้องการอ้างอิง]
ในส่วนของวัดวังหินนั้น ถือว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญทางด้านการทหารในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชอย่างมาก เนื่องจากเป็นวัดที่ใช้ในการจัดทัพและปลุกขวัญกำลังใจให้กับทหาร กำลังพลก่อนที่จะทำการออกศึก โดยวัดนี้ ก็มีการจัดสร้างพระเครื่องที่เชื่อกันว่าถูกสร้างโดยพระนเรศวรด้วย คือ ลีลาวังหิน โดดเด่นทางด้าน คงกระพันชาตรี[ต้องการอ้างอิง]
สมัยกรุงธนบุรี[แก้ไขต้นฉบับ]
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเห็นว่าพิษณุโลกเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ควรมีผู้ที่เข้มแข็งที่มีความสามารถเป็นเจ้าเมือง จึงทรงแต่งตั้งเจ้าพระยายมราช (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชสำเร็จราชการเมืองพิษณุโลกโดยขึ้นต่อกรุงธนบุรี เมื่อได้ทรงแต่งตั้งผู้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือจนครบถ้วนแล้ว จึงเสด็จกลับไปยังกรุงธนบุรี
พ.ศ. 2318 อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพพม่าผู้ชำนาญการรบ ได้วางแผนยกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย ตีได้เมืองตาก เมืองสวรรคโลก บ้านกงธานี และมาพักกองทัพอยู่ที่กรุงสุโขทัย ขณะนั้นเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์กำลังยกกองทัพขึ้นไปตีเชียงแสน เมื่อทราบข่าวข้าศึก จึงรีบยกทัพกลับมารับทัพพม่าที่เมืองพิษณุโลก ก่อนที่อะแซหวุ่นกี้ยกทัพมาตั้งค่ายล้อมเมืองพิษณุโลก
กองทัพพม่าพยายามเข้าตีค่ายไทยหลายครั้ง แต่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ได้ช่วยป้องกันเมืองเป็นสามารถ ทั้งที่ทหารน้อยกว่าแต่ไม่สามารถชนะกันได้ อะแซหวุ่นกี้ถึงกับกล่าวยกย่องแม่ทัพฝ่ายไทย เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบข่าวอะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพใหญ่มาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย จึงทรงยกทัพใหญ่ขึ้นไปช่วยทันที ฝ่ายอะแซหวุ่นกี้ทราบข่าวว่ากองทัพไทยมาตั้งค่ายเพื่อช่วยเหลือเมืองพิษณุโลก จึงแบ่งกำลังพลไปตั้งมั่นที่วัดจุฬามณีฝั่งตะวันตก อะแซหวุ่นกี้เห็นว่าถ้าชักช้าไม่ทันการณ์จึงสั่งให้ทัพพม่าที่กรุงสุโขทัยไปตีเมืองกำแพงเพชร ส่วนกองทัพเมืองกำแพงเพชรไปตีเมืองนครสวรรค์ และสั่งให้กองทัพพม่าอีกกองทัพหนึ่งยกไปตีกรุงธนบุรี การวางแผนของอะแซหวุ่นกี้เช่นนี้ เป็นการตัดกำลังฝ่ายไทยไม่ให้ช่วยเมืองพิษณุโลกและต้องการให้กองทัพไทยระส่ำระสาย
ในที่สุดสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระราชดำริเห็นว่า ไทยเสียเปรียบเพราะมีกำลังทหารน้อยกว่า จึงควรถอยทัพกลับไปตั้งมั่นรับทัพพม่าที่กรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรีเห็นว่าไทยขาดเสบียงอาหารและใกล้จะหมดทางสู้ จึงตัดสินใจพาไพร่พลและประชาชนชายหญิงทั้งหมด ตีหักค่ายพม่าออกจากเมืองพิษณุโลกไปทางทิศตะวันออกได้สำเร็จ พาทัพผ่าน บ้านมุง บ้านดงชมพู ข้ามเขาบรรทัด ไปตั้งรวมรี้พลอยู่ที่เมืองเพชรบูรณ์
พม่าล้อมเมืองพิษณุโลกนานถึง 4 เดือน เมื่อเข้าเมืองได้ ก็พบแต่เมืองร้าง อะแซหวุ่นกี้จึงสั่งเผาผลาญทำลายบ้านเมืองพิษณุโลกพินาศจนหมดสิ้น คงเหลือเฉพาะวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]
สมัยรัตนโกสินทร์[แก้ไขต้นฉบับ]
เมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองเอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในหัวเมืองฝ่ายเหนือของไทย มีประชากรประมาณ 55,000 คน เป็นชาวจีนประมาณ 1,112 คน และมีเมืองต่าง ๆ อยู่ในอำนาจการปกครองดูแลหลายหัวเมืองด้วยกัน เช่น เมืองนครไทย ไทยบุรี ศรีภิรมย์ พรหมพิราม ชุมสรสำแดง ชุมแสงสงครามพิพัฒน์ นครชุมทศการ นครพามาก เมืองการ เมืองคำ[ต้องการอ้างอิง] ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพสำคัญ คือ ทำนา ทำไร่ หาของป่า และทำไม้
พ.ศ. 2409 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระอุตสาหะเสด็จประพาสเมืองเหนืออีกครั้งหนึ่ง โดยเสด็จทางเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะนั้นกำลังผนวชเป็นสามเณรก็ได้ตามเสด็จมาด้วย เมื่อเสด็จถึง ก็ได้ทรงประทับและทรงสมโภชพระพุทธชินราชอยู่ 2 วันจึงเสด็จกลับ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช) ได้เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกทุกพระองค์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ที่พระองค์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรในระหว่างเสด็จประพาส เช่น เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง พระราชปรารภเรื่องพระพุทธชินราชและเรื่องลิลิตพายัพ เป็นต้น เอกสารดังกล่าวเหล่านี้ปัจจุบันมีคุณค่าอย่างยิ่งทางด้านประวัติศาสตร์ ส่วนรัชกาลที่ 5 นั้น พระองค์ทรงประทับพระทัยในความศักดิ์สิทธิ์และความสวยงามขององค์พระพุทธชินราช ถึงกับโปรดเกล้าฯ ให้จำลองพระพุทธรูปพระพุทธชินราชไปเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นในสมัยนั้น
ครั้งเมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง สะพานข้ามแม่น้ำน่านหน้าวัดใหญ่ก็ถูกทิ้งระเบิด แต่ทิ้งเท่าไหร่ก็ไม่ถูกเป้าหมาย[ต้องการอ้างอิง] ทั้ง ๆ ที่ในอดีต เป็นสะพานไม้ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก[ต้องการอ้างอิง]
สมัยปัจจุบัน[แก้ไขต้นฉบับ]
มี 5 ตำบลที่แยกเป็นกิ่งอำเภอ
- กิ่งอำเภอทรัพย์ไพรวัลย์ แยกตำบลแก่งโสภา และตำบลบ้านกลาง โดยขึ้นกับอำเภอวังทอง
- กิ่งอำเภอวงฆ้อง แยกตำบลดงประคำ ตำบลตลุกเทียม ตำบลมะต้อง ตำบลวงฆ้อง และตำบลศรีภิรมย์ โดยขึ้นกับอำเภอพรหมพิราม
- กิ่งอำเภอนิคมหนองกุลา แยกตำบลหนองกุลา ตำบลตำบลนิคมพัฒนา ตำบลบึงกอก ตำบลปลักแรด และตำบลพันเสา โดยขึ้นกับอำเภอบางระกำ
- กิ่งอำเภอวังน้ำคู้ แยกตำบลงิ้วงาม ตำบลวังน้ำคู้ และตำบลวัดพริก โดยขึ้นกับอำเภอเมืองพิษณุโลก
- กิ่งอำเภอนครบางยาง แยกตำบลบ้านแยง ตำบลหนองกะท้าว และตำบลห้วยเฮี้ย โดยขึ้นกับอำเภอนครไทย
ภูมิศาสตร์[แก้ไขต้นฉบับ]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้ไขต้นฉบับ]
จังหวัดพิษณุโลกมีที่ตั้งทางอุตุนิยมวิทยาในภาคเหนือตอนล่าง สำหรับเกณฑ์การแบ่งภาคอย่างเป็นทางการของราชบัณฑิตยสภาอยู่ในเขตภาคกลาง โดยอยู่ทางตอนบนของภาค ห่างจากกรุงเทพมหานคร 368 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 10,815 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,759,909 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพิชัย อำเภอทองแสนขัน และอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์, แขวงไชยบุรี ประเทศลาว
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์, อำเภอด่านซ้าย และอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองพิจิตร อำเภอวชิรบารมี อำเภอสามง่าม และอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอกงไกรลาศ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย, อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร
ภูมิประเทศและภูมิอากาศ[แก้ไขต้นฉบับ]
ทางตอนเหนือและตอนกลางเป็นเขตเทือกเขาสูงและที่ราบสูง โดยมีเขตภูเขาสูงด้านตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งอยู่ในเขตอำเภอวังทอง อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเนินมะปรางอำเภอนครไทย และอำเภอชาติตระการ พื้นที่ตอนกลางมาทางใต้เป็นที่ราบ และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านและแม่น้ำยม ซึ่งเป็นแหล่งการเกษตรที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพิษณุโลก อยู่ในเขตอำเภอบางระกำ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม อำเภอเนินมะปราง และบางส่วนของอำเภอวังทอง
จังหวัดพิษณุโลกมีลมมรสุมพัดผ่านจากทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย และแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู
- ฤดูร้อน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส
- ฤดูฝน จะเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยประมาณปีละ 1,375 มิลลิเมตร
- ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 19 องศาเซลเซียส
[ซ่อน]ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดพิษณุโลก | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 36.3 (97.3) | 38.0 (100.4) | 40.3 (104.5) | 41.8 (107.2) | 42.0 (107.6) | 38.7 (101.7) | 38.4 (101.1) | 36.7 (98.1) | 36.6 (97.9) | 35.3 (95.5) | 35.7 (96.3) | 35.6 (96.1) | 42 (107.6) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.6 (88.9) | 33.9 (93) | 35.9 (96.6) | 37.4 (99.3) | 35.6 (96.1) | 33.6 (92.5) | 32.8 (91) | 32.3 (90.1) | 32.3 (90.1) | 32.3 (90.1) | 31.7 (89.1) | 30.9 (87.6) | 33.36 (92.05) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 24.1 (75.4) | 26.7 (80.1) | 29.0 (84.2) | 30.6 (87.1) | 29.6 (85.3) | 28.5 (83.3) | 28.1 (82.6) | 27.8 (82) | 27.8 (82) | 27.6 (81.7) | 26.1 (79) | 24.0 (75.2) | 27.49 (81.49) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 18.0 (64.4) | 20.8 (69.4) | 23.5 (74.3) | 25.3 (77.5) | 25.2 (77.4) | 24.8 (76.6) | 24.6 (76.3) | 24.5 (76.1) | 24.5 (76.1) | 24.0 (75.2) | 21.6 (70.9) | 18.3 (64.9) | 22.93 (73.27) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 8.9 (48) | 13.2 (55.8) | 12.7 (54.9) | 19.1 (66.4) | 20.4 (68.7) | 21.8 (71.2) | 21.6 (70.9) | 22.2 (72) | 21.5 (70.7) | 17.6 (63.7) | 12.1 (53.8) | 9.4 (48.9) | 8.9 (48) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 7 (0.28) | 12 (0.47) | 29 (1.14) | 51 (2.01) | 188 (7.4) | 183 (7.2) | 190 (7.48) | 257 (10.12) | 241 (9.49) | 157 (6.18) | 31 (1.22) | 6 (0.24) | 1,352 (53.23) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 1 | 1 | 2 | 4 | 12 | 13 | 14 | 17 | 15 | 9 | 3 | 1 | 92 |
แหล่งที่มา: NOAA (2504-2533)[5] |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้ไขต้นฉบับ]
- ตราประจำจังหวัด: พระพุทธชินราช
- ธงประจำจังหวัด: ธงพื้นสีม่วง กลางธงเป็นตราประจำจังหวัดคือรูปพระพุทธชินราชในวงกลม
- คำขวัญประจำจังหวัด: พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: ปีบ (Millingtonia hortensis)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกนนทรี (Peltophorum pterocarpum)
การเมืองการปกครอง[แก้ไขต้นฉบับ]
หน่วยการปกครอง[แก้ไขต้นฉบับ]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้ไขต้นฉบับ]
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้ไขต้นฉบับ]
จังหวัดพิษณุโลกมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 103 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง, เทศบาลนคร 1 แห่ง คือ เทศบาลนครพิษณุโลก, เทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ เทศบาลเมืองอรัญญิก, เทศบาลตำบล 24 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 76 แห่ง[6] โดยเทศบาลสามารถจำแนกได้ตามอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดพิษณุโลก ดังนี้
อำเภอเมืองพิษณุโลก
อำเภอนครไทย
อำเภอชาติตระการ
|
อำเภอบางระกำ
อำเภอบางกระทุ่ม
อำเภอพรหมพิราม
|
อำเภอวัดโบสถ์
อำเภอวังทอง
อำเภอเนินมะปราง
|
รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้ไขต้นฉบับ]
|
|
ประชากรศาสตร์[แก้ไขต้นฉบับ]
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
อันดับ (ปีล่าสุด) | อำเภอ | พ.ศ. 2557[7] | พ.ศ. 2556[8] | พ.ศ. 2555[9] | พ.ศ. 2554[10] | พ.ศ. 2553[11] | พ.ศ. 2552[12] | พ.ศ. 2551[13] |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เมืองพิษณุโลก | 283,419 | 281,762 | 280,922 | 280,457 | 279,292 | 276,293 | 274,415 |
2 | วังทอง | 120,824 | 120,535 | 120,513 | 119,878 | 119,485 | 119,103 | 119,213 |
3 | บางระกำ | 94,980 | 94,832 | 94,578 | 94,020 | 93,841 | 93,725 | 93,673 |
4 | พรหมพิราม | 87,864 | 87,853 | 87,739 | 87,629 | 87,869 | 87,868 | 87,962 |
5 | นครไทย | 87,042 | 86,684 | 86,163 | 85,534 | 85,213 | 84,911 | 85,202 |
6 | เนินมะปราง | 58,208 | 58,043 | 58,062 | 57,916 | 57,873 | 57,906 | 58,015 |
7 | บางกระทุ่ม | 48,152 | 48,307 | 48,390 | 48,313 | 48,605 | 48,667 | 48,849 |
8 | ชาติตระการ | 40,801 | 40,633 | 40,432 | 40,144 | 40,121 | 39,759 | 39,483 |
9 | วัดโบสถ์ | 37,698 | 37,727 | 37,573 | 37,466 | 37,393 | 37,329 | 37,183 |
— | รวม | 858,988 | 856,376 | 854,372 | 851,357 | 849,692 | 845,561 | 843,995| |
โครงสร้างพื้นฐาน[แก้ไขต้นฉบับ]
การศึกษา[แก้ไขต้นฉบับ]
จังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง มีสถานศึกษามากมายทุกระดับตั้งแต่อนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัยทั้งรัฐบาล และเอกชนดังนี้
- อุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยนเรศวร
- มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพิษณุโลก
- วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
- วิทยาลัยทองสุข ศูนย์การศึกษาพิษณุโลก
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพุทธชินราช
- วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร
- วิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศไทย
- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศูนย์จังหวัดพิษณุโลก
- อาชีวศึกษา
- วิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดพิษณุโลก
- วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก
- วิทยาลัยเทคนิคสองแคว
- วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก
- วิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก
- วิทยาลัยการอาชีพนครไทย
- วิทยาลัยบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีพิษณุโลก
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการพิษณุโลก
- ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ดูบทความหลักที่: รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดพิษณุโลก
สาธารณสุข[แก้ไขต้นฉบับ]
จังหวัดพิษณุโลกมีสถานบริการที่หลากหลาย ตั้งแต่สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน คลินิก โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลทหาร โรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย โดยมีโรงพยาบาลศูนย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุขประจำจังหวัดและประจำภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างคือ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก และมีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูงของภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างก็คือ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม คือ โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และโรงพยาบาลกองบิน 46
การขนส่ง[แก้ไขต้นฉบับ]
จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ทำให้จังหวัดพิษณุโลกเป็นจุดศูนย์กลางในด้านคมนาคมของภูมิภาคอินโดจีน โดยเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างภาคกลางกับภาคเหนือ รวมทั้งภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย จังหวัดพิษณุโลกจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น "เมืองบริการสี่แยกอินโดจีน" โดยสามารถเดินทางได้โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (แม่สอด-มุกดาหาร) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (อินทร์บุรี-เชียงใหม่) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 (พิษณุโลก-นครสวรรค์) โดยทางหลวงทั้ง 3 สายเชื่อมโยงกันด้วยโครงข่ายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 (ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลก)
โดยทั้งนี้จังหวัดพิษณุโลกมีสถานีขนส่งผู้โดยสาร 2 แห่งด้วยกัน
- สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ตั้งอยู่ภายในตัวเมือง สำหรับรถโดยสารที่วิ่งบริเวณจังหวัดที่ใกล้เคียง
- สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกอินโดจีน เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ก่อสร้างบนเนื้อที่ 10 ไร 12 ตารางวา รองรับรถโดยสารที่มีเส้นทางผ่านจังหวัดพิษณุโลก รวม 20 เส้นทาง มีชานชาลาสำหรับจอดรถโดยสารทั้งหมด 40 ช่อง แบ่งเป็นอาคารสถานีฯหลังใหญ่ จำนวน 20 ช่อง อาคารสถานีฯหลังเล็ก จำนวน 20 ช่อง มีช่องจำหน่ายตั๋ว 27 ช่อง มีสถานที่จอดรถสำหรับประชาชนจำนวน 100 ช่อง มีการจัดสถานที่นั่งรอรถ สำหรับพระภิกษุและประชาชนอย่างเพียงพอ
นอกจากการคมนาคมทางรถยนต์แล้ว การเดินทางมาจังหวัดพิษณุโลกยังสามารถมาด้วยรถไฟ หรือเครื่องบิน โดยที่ท่าอากาศยานพิษณุโลก มีเครื่องบินมีสายการบินนกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย ไทยไลอ้อนแอร์ และ กานต์แอร์ มีเที่ยวบินมาลงท่าอากาศยานพิษณุโลกทุกวัน
ส่วนการเดินทางภายในตัวจังหวัดนั้น จะมีรถโดยสารสองแถวสีม่วง กับรถโดยสารประจำทางมินิบัสสีม่วง วิ่งให้บริการหลายสาย
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้ไขต้นฉบับ]
- อำเภอเมืองพิษณุโลก
- วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
- พระราชวังจันทน์ (ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)
- มหาวิหารสมเด็จองค์ปฐม (วัดจันทร์ตะวันตก)
- พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี (จ่าสิบเอกทวี-พิมพ์ บูรณเขตต์)
- โรงหล่อพระบูรณะไทย
- สวนนกไทยศึกษา
- เซ็นทรัลพลาซ่าพิษณุโลก
- วัดนางพญา
- สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา บริเวณแยกเรือนแพ (สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ)
- พิษณุโลก เซ็นทรัลปาร์ค บริเวณสถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก (สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้าง)
- อำเภอบางระกำ
- สวนน้ำสแปลชฟันปาร์ค (สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ)
- อำเภอวังทอง
- สวนสาธารณะบึงราชนก (ส่องนกชมดาว)
- สวนรุกขชาติสกุโณทยาน (น้ำตกวังนกแอ่น)
- น้ำตกปอย
- น้ำตกแก่งซอง
- น้ำตกแก่งโสภา
- อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง
- วนอุทยานเขาพนมทอง ตำบลพันชาลี
- วัดราชคีรีหิรัญยาราม
- อุทยานแห่งชาติภูแดงร้อน
- วัดพระพุทธบาทเขาสมอแคลง
- โรงเจไซทีฮุกตึ้ง
- พระมหาธาตุเจดีย์ศรีบวรชินรัตน์
- วัดวังทองวราราม
- สถูปพระยาสาลีรัฐวิภาค
- อำเภอนครไทย
- อำเภอวัดโบสถ์
- อำเภอชาติตระการ
- อำเภอเนินมะปราง
- อำเภอพรหมพิราม
- สวนนํ้าพรหมพิรามรีสอร์ท
- วัดวังมะสระ
- วัดกระบังมังคลาราม
- เขื่อนนเรศวร
บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้ไขต้นฉบับ]
- เกจิคณาจารย์ชื่อดังของจังหวัดพิษณุโลก
- พระวรญาณมุนี (หลวงตาละมัย (แจ่ม สุธัมโม) วัดอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก
- พระมงคลสุธี (หลวงพ่อแขก) วัดสุนทรประดิษฐ์ อำเภอบางระกำ
- พระครูศีลสารสัมบัน (สำรวย สมฺปนฺโน) วัดสระแก้วปทุมทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก
- หลวงพ่อทรัพย์ วัดปลักแรด อำเภอบางระกำ
- พระครูประพันธ์ศีลคุณ (หลวงพ่อพันธ์) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางสะพานและเจ้าคณะอำเภอวังทองชั้นเอก
- พระครูสุวรรณธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อวาว) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางสะพานและเจ้าคณะตำบลวังทองชั้นเอกกิตติมศักดิ์
- พระครูศีลสารสัมบัน (หลวงปู่อ่อน พุทธสโก) วัดเนินมะเกลือวนาราม อำเภอวังทอง
- พระครูไพโรจน์คุณาธาร (หลวงปู่หล้า คุณาธโร) วัดหนองบัว อำเภอวังทอง
- พระครูขันติธรรมาภินันท์ (หลวงพ่อเชื่อม) วัดหนองทอง อำเภอวังทอง
- หลวงพ่อยี ปญญภาโร อดีตเจ้าอาวาสวัดอภัยสุพรรณภูมิ (วัดดงตาก้อนทอง) อำเภอบางกระทุ่ม
- หลวงพ่อแห วัดหนองบัว อ.เมือง
|
|
ของดีจังหวัดพิษณุโลก[แก้ไขต้นฉบับ]
- พระพุทธชินราชใบเสมา กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) หนึ่งในเบญจภาคีพระเครื่อง
- พระพิมพ์นางพญา กรุวัดนางพญา หนึ่งในเบญจภาคีพระเครื่อง
- หมี่ซั่ว
- สุนัขพันธุ์บางแก้ว
- ไก่ชนพันธุ์ไทยพันธุ์เหลืองหางขาว
- แหนมและหมูยอ
- น้ำปลาบางระกำ
- ผลิตภัณฑ์กล้วยตาก อำเภอบางกระทุ่ม
- ไม้กวาดบ้านนาจาน อำเภอชาติตระการ
- ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทอดกรอบ (หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 5 ดาว)
- ผ้าไหมทอมือ อำเภอเนินมะปราง
- มะม่วงกวนหรือส้มแผ่น อำเภอวังทอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น